7 ก.ย. 2554

e-Learning คืออะไร

        
คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น

          ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ใน การบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)
          คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้




ประโยชน์ของ e-Learning
  • ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียน
              การ เรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่
     
  • เข้าถึงได้ง่าย
              ผู้ เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย
     
  • ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่าย
              เนื่อง จากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว
     
  • ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง
              ผู้ เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม
     
     



LMS คืออะไร
          LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ

LMS ประกอบด้วย 5 ส่วนดังนี้
  1. ระบบจัดการหลักสูตร (Course Management) กลุ่มผู้ใช้งานแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหารระบบ โดยสามารถเข้าสู่ระบบจากที่ไหน เวลาใดก็ได้ โดยผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบสามารถรองรับจำนวน user และ จำนวนบทเรียนได้ ไม่จำกัด โดยขึ้นอยู่กับ hardware/software ที่ใช้ และระบบสามารถรองรับการใช้งานภาษาไทยอย่างเต็ม


  2. ระบบการสร้างบทเรียน (Content Management) ระบบประกอบด้วยเครื่องมือในการช่วยสร้าง Content ระบบสามารถใช้งานได้ดีทั้งกับบทเรียนในรูป Text - based และบทเรียนใน รูปแบบ Streaming Media


  3. ระบบการทดสอบและประเมินผล (Test and Evaluation System) มีระบบคลังข้อสอบ โดยเป็นระบบการสุ่มข้อสอบสามารถจับเวลาการทำข้อสอบและการตรวจข้อสอบ อัตโนมัติ พร้อมเฉลย รายงานสถิติ คะแนน และสถิติการเข้าเรียนของนักเรียน


  4. ระบบส่งเสริมการเรียน (Course Tools) ประกอบด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้สื่อสารระหว่าง ผู้เรียน - ผู้สอน และ ผู้เรียน - ผู้เรียน ได้แก่ Webboard และ Chatroom โดยสามารถเก็บ History ของข้อมูลเหล่านี้ได้


  5. ระบบจัดการข้อมูล (Data Management System) ประกอบด้วยระบบจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ ผู้สอนมีเนื้อที่เก็บข้อมูลบทเรียนเป็นของตนเอง โดยได้เนื้อที่ตามที่ Admin

เครือข่ายสังคมออนไลน์Online social network



คำถามสุดฮิตและกำลังได้รับความสนใจในขณะนี้คือ social network คืออะไร หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบ ทีมงาน blogtika เลยขอแนะนำความหมายของ social network ในแบบง่ายๆในฟังกัน
Social network แหล่งแลกเปลี่ยนข้อมูลและความสัมพันธ์บนโลกอินเตอร์เน็ท จะยกตัวอย่างให้เห็นภาพกัน อาทิเช่น ปกติเหล่าแม่บ้านจะจับเข่าเม้าส์กันกับบรรดาเพื่อนบ้านใกล้เคียง เมื่อเป็น social network แม่บ้านจะสามารถเข้าเว็บไซต์ เพื่อทำการเลือกกลุ่มที่สนใจ (กลุ่มแม่บ้าน) แล้วเข้าไปเหล่าเรื่องที่ตนเองพบเจอมา สักพักเมื่อเวลาผ่านไป บรรดาเหล่าแม่บ้านจากทั่วโลก จะเข้ามาแชร์ประกบการณ์ในเรื่องที่แม่บ้านได้เขียนไว้ คุณผู้อ่านพอจะมองเห็นภาพกันบ้างไหมว่า นี้คือโลกที่สามยุคที่อะไรก็ไม่อาจจะหยุดยั้งไว้ได้แล้ว

เครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นปรากฎการณ์ของการเชื่อมต่อระหว่างบุคคลในโลกอินเทอร์เน็ต และ ยังหมายรวมถึง การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายกับเครือข่ายสังคมออนไลน์ เข้าด้วยกัน ในแง่ของการให้ความหมายของคำว่า เครือข่ายสังคมออนไลน์นั้น คุณเก่ง หรือ กติกา สายเสนีย์ ในเว็บบล็อก http://keng.com/2008/08/09/what-is-social-networking/ ได้ให้ความหมายที่น่าสนใจว่า
Social Network คือ การที่ผู้คนสามารถทำความรู้จัก และเชื่อมโยงกันในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หากเป็นเว็บไซต์ที่เรียกว่าเป็น เว็บ Social Network ก็คือเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงผู้คนไว้ด้วยกันนั่นเอง ตัวอย่างของเว็บประเภทที่เป็น Social Network เช่น Digg.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่เรียกได้ว่าเป็น Social Bookmark ที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่ง และเหมาะมาก ที่จะนำมาเป็นตัวอย่าง เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยในเว็บไซต์ Digg นี้ ผู้คนจะช่วยกันแนะนำ url ที่น่าสนใจเข้ามาในเว็บ และผู้อ่านก็จะมาช่วยกันให้คะแนน url หรือข่าวนั้น ๆ เป็นต้น
ในแง่ของการอธิบายถึงปรากฎการณ์ของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ยังมีการอธิบายผ่านคำว่า Social network service หรือ SNS เป็นการเน้นไปที่การสร้างชุมชนออนไลน์ซึ่งผู้คนสามารถที่จะแลกเปลี่ยน แบ่งปันตามผลประโยชน์ กิจกรรม หรือความสนใจเฉพาะเรื่อง ซึ่งอาศัยระบบพื้นฐานของเว็บไซต์ที่ทำให้มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้คนโดยแต่ ละเว็บนั้นอาจมีการให้บริการที่ต่างกัน เช่น email กระดานข่าว และในยุคหลังๆมานี้ เป็นการแบ่งปันพื้นที่ให้สมาชิกเป็นเจ้าของพื้นที่ร่วมกันและแบ่งปันข้อมูล ระหว่างโดยผู้คนสามารถสร้างเว็บเพจของตนเองโดยอาศัยระบบซอฟท์แวร์ที่เจ้าของ เว็บให้บริการ  ในขณะเดียวกัน Howard Rheingold ได้เขียนคำจำกัดความของคำว่า virtual Community ในหนังสือ virtual communy ว่าหมายถึง การสื่อสาร และ ระบบข้อมูล ของบรรดาเครือข่ายสังคม ซึ่งแบ่งปันในผลประโยชน์ร่วมกัน ความคิด ชิ้นงาน หรือ ผลลัพธ์บางประการที่มีการโต้ตอบกันผ่านสังคมเสมือนจริง ซึ่งไม่ถูกผูกพันโดยเวลา พรมแดน เขตแดนของหน่วยงาน และในทุกๆที่ที่บุคคลสามารถพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกันผ่านระบบออนไลน์
Follow up:
ขอแนะนำ 10 อันดับ Social Network ที่ได้รับความนิยมในขณะนี้
1.
MySpace.com
2.
FaceBook.com
3.
Orkut.com
4.
Hi5.com
5.
Vkontakte.ru
6.
Friendster.com
7.
SkyRock.com
8.
PerfSpot.com
9.
Bebo.com
10.
Studivz.net

ลองทดสอบ
social network ในรูปแบบที่คุณชื่นชอบกัน แล้วจะทราบถึงพลังของคนยุคใหม่ อย่าลืมว่า blogtika ก็เป็น social network ชนิดหนึ่งเหมือนกันนะ



ภาพยนตร์เกี่ยวกับแฮ็กเกอร์

ภาพยนต์ในต่างประเทศหลายเรื่องมีเนื้อหาเกี่ยวกับแฮกเกอร์ หรือแฮ็กเกอร์ (Hacker) บางเรื่องก็ยกให้แฮกเกอร์เป็นพระเอกที่มีคุณธรรม และเหยื่อกลายเป็นผู้ร้าย บางเรื่องแฮกเกอร์ก็เป็นผู้ร้ายมีความโลภ โกรธ หลงรวมอยู่ในตัวตนของเขา อย่างเช่นภาพยนต์เรื่องตายยากสี่ (Die Hard 4) ที่แฮกเกอร์เคยเป็นยอดคนเก่งของรัฐบาลแล้วผิดหวังกับหน้าที่การงาน จึงหันมาเป็นผู้ร้ายหวังเงินก้อนมหาศาลด้วยการแฮกเข้าระบบฐานข้อมูลทุกระบบของประเทศอเมริกา โดยหลอกให้แฮกเกอร์มากมายช่วยกันแฮกระบบแล้วนำอัลกอริทึมเหล่านั้นมาใช้เพื่อตนเอง แต่ท้ายที่สุดก็พ่ายแพ้ให้กับพระเอกของเราที่มีแฮกเกอร์เป็นพระรองคอยให้ความช่วยเหลือ แต่ในชีวิตจริงพระเอกอาจไม่โชคดีเช่นนั้นเสมอไป ส่วนเรื่องแมททริกซ์ (Matrix) ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับแฮกเกอร์ และจิตนาการเกี่ยวกับอนาคตของโลกที่แสดงให้เห็นว่าแฮกเกอร์อาจเป็นคนดี เป็นพระเอก ย่อมมีโอกาสชนะผู้ดูแลระบบได้เช่นกัน
โลกของเรามีคนหลายประเภท มีคนดีที่ดี คนชั่วที่ดี คนดีที่ชั่ว และคนชั่วที่ชั่ว มีศัพท์เรียกแฮกเกอร์ที่ดีว่าไวท์แฮกเกอร์ (White Hacker) และแฮกเกอร์ที่ไม่ดีว่าแบล็คแฮกเกอร์ (Black Hacker) แต่ในทางกฎหมายแฮกเกอร์คือคนที่พยายามละเมิดสิทธิของผู้อื่น และมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ในสถาบันการศึกษาที่สอนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มักตระหนักถึงคมสองด้านของการให้ความรู้เรื่องการรักษาความปลอดภัย เหมือนที่เนื้อหาในภาพยนต์เรื่องแฮรี่ พอตเตอร์ (Harry Plotter) ภาคภาคีนกฟีนิกซ์ ที่พยายามนำเสนอคติที่ว่าความรู้เสมือนดาบสองคม ดังนั้นตัวร้ายซึ่งรับบทเป็นครูจึงปฏิเสธการสอนให้นักเรียนใช้เวทย์มนต์ ทำให้นักเรียนต้องไปแอบรวมกลุ่มเรียนรู้ด้วยตนเอง เพราะเชื่อว่าความรู้คืออาวุธที่จะปกป้องพวกตนได้ แต่ครูในภาพยนต์เรื่องนี้คิดว่าเด็กไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องเวทย์มนต์ เพราะเชื่อว่าไม่มีผู้ร้าย และเชื่อว่าทุกคนเป็นคนดี ซึ่งภาพยนต์เรื่องนี้สื่อออกมาว่าครูคิดผิด
การเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีของแฮกเกอร์สำหรับผู้ดูแลระบบเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะการรู้เขารู้เราในสมรภูมิรบบนโลกไอทีเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ในชีวิตจริงจะไว้ใจใครไม่ได้ ดังคำว่ารู้หน้าไม่รู้ใจ และผลสำรวจหลายครั้งชี้ว่าแฮกเกอร์ที่แฮกระบบขององค์กรส่วนใหญ่เป็นคนในองค์กร มีข่าวที่แฮกเกอร์แฮกระบบสำเร็จออกมาอยู่เสมอ เช่น แฮกข้อมูลบัตรเครดิตของธนาคาร แฮกข้อมูลของผู้ให้บริการโทรศัพท์ เปลี่ยนเว็บเพจของกระทรวงไอซีที ปัจจุบันมีหนังสือสอนเรื่องความปลอดภัย การป้องกัน และวิธีการที่แฮกเกอร์จะเข้าโจมตีวางอยู่ในร้านหนังสือทั่วไป ถ้าคนที่อ่านคือผู้ดูแลระบบก็จะทำให้ระบบของพวกเขาแข็งแรงปลอดภัย แต่ถ้าเป็นนักเรียนที่มีความอยากรู้อยากลอง ๅอาจทำให้พวกเขาเปลี่ยนเป็นแบล็คแฮกเกอร์ในชั่วข้ามคืนด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ถึงบทลงโทษที่มีในกฎหมาย ความรู้เรื่องการป้องกันระบบรวมอยู่กับความรู้เรื่องการแฮกซึ่งหาได้ไม่ยากจากเว็บไซต์มากมายในโลกไอที
     หนังแนะนำเกี่ยวกับ "คอมพิวเตอร์"
Antitrust

Die Hard 4: Live Free or Die Hard

Eagle Eye


Swordfish


The Social Network


The Thirteenth Floor


Tron Legacy

ระบบ 3G



เทคโนโลยี 3G พัฒนามาจากอะไร ระบบ 3G คืออะไร และมี ความเร็ว เท่าไร
ระบบ 3G ( UMTS ) นั้นคือการนำเอาข้อดีของ ระบบ CDMA มาปรับใช้กับ GSM เรียกว่า W-CDMA ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท NTT DoCoMo ของญี่ปุ่น

สำหรับเมืองไทยนั้น ระบบ 3G จะเป็น เทคโนโลยีแบบ HSPA ซึ่งแยกย่อยได้เป็น HSDPA , HSUPA และ HSPA+

HSDPAนั้นจะสามารถ รับส่งข้อมูลได้สูงสุดที่ Download 14.4 Mbps / Upload 384 Kbps. ( ปัจจุบันผู้ให้บริการทั่วโลกยังให้บริการอยู่ที่ Download 7.2Mbps เท่านั้น )
HSUPAจะเหมือนกับ HSDPA ทุกอย่างแต่การ Upload ข้อมูลจะวิ่งที่ความเร็วสูงสุด 5.76 Mbps
HSPA+ เป็นระบบในอนาคต การ Download ข้อมูลจะอยู่ที่ 42 Mbps / Upload 22 Mbps

สำหรับในเมืองไทยนั้น ระบบ 3G ( HSPA ) ที่ Operator AIS หรือ DTAC นำมาใช้จะเป็น HSDPA โดยการ Download จะอยู่ที่ 7.2Mbps ซึ่งน่าจะได้ใช้กันในไม่ช้า

ข้อควรระวังในการเลือกซื้อ AirCard แบบที่รองรับ 3G คลื่นความถี่ 3G ที่ใช้กันทั่วโลก จะใช้อยู่ 3 ความถี่ที่เป็นมาตราฐานคือ 850 , 1900 และ 2100 ซึ่งเมืองไทยจะแบ่งเป็นดังนี้

คลื่นความถี่ ( band ) 850 จะถูกพัฒนาโดย Dtac และ True
คลื่นความถี่ ( band ) 900 จะถูกพัฒนาโดย AIS (ใช้ชั่วคราวที่เชียงใหม่ และ Central World)
คลื่นความถี่ ( band ) 2100 กำลังรอ กทช. ทำการประมูลเพื่อจัดสรรคลื่นความถี่
คลื่นความถี่ ( band ) 1900 และ 2100 จะถูกพัฒนาโดย TOT

ดังนั้นการเลือกซื้อ AirCard , Router หรือ โทรศัพท์มือถือ และต้องการให้รอบรับ 3G ควร check ให้ดีก่อนว่าสามารถรองรับได้ทั้ง 3 คลื่นหรือเพียงบางคลื่นเท่านั้น
และดังนั้นในเวลานี้เรามีเพียงตัวเลือกเดียวที่ให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 850MHZ ที่สามารถใช้งานได้จริงและเป็นวงกว้างมากที่สุด คือ ทั่วบริเวณกรุงเทพ เชียงใหม่ ภูเก็ต หัวหินและเท่่าที่ดูมาคุ้มค่าที่สุดคือ package free size 599 บาทต่อเดือนจะได้ใช้งาน 3g unlimit
หากเทียบกับเจ้าอื่นซึ่งให้ใช้แบบจำกัดขนาดข้อมูล เริ่มที่ 500mb ซึ่งถือว่าน้อยมากเพราะเวลาที่คุณใช้งาน 3g ใช้งาน 2mb ต่อวินาทีเพียงไม่นาน promotion ที่คุณใช้งานอยู่ก็หมดลงแล้ว
ไม่ได้ cheer อะไร true นะครับแต่ดูและลองมาทั้งหมดในเวลานี้ Porttable device เช่น Ipad หรือ smart phone รุ่นใหม่ๆก็ควรคู่กับ Network ของ True มากที่สุด เพราะคุณใช้อุปกรณ์ที่เร็วแต่ระบบเครือข่ายช้าก็ไม่มีความหมาย มันจะไม่เห็นผลในการใช้งานลักษณะ real-timeโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือมาตรฐาน IMT-2000 นั้นนิยามสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า
      
       • “ต้องมี แพลทฟอร์ม(Platform) สำหรับการหลอมรวมของบริการต่างๆ อาทิ กิจการประจำที่ (Fixed Service) กิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) บริการสื่อสารเสียง ข้อมูล อินเตอร์เน็ต และ พหุสื่อ (Multimedia) เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้
      
       • “ความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming)” คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง
      
       • “บริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service)” คือ การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) เขาใช้คำว่า Seam less นั้นแปลว่า ไร้รอยตะเข็บนะครับ
       • อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็ว
       > มากกว่า 144 กิโลบิต/วินาที ในทุกสภาวะ
       > ถึง 2 เมกกะบิต/วินาที ในสภาวะกึ่งเคลื่อนที่
       > สูงถึง 384 กิโลบิต/วินาที ในสภาวะเคลื่อนที่
            นิยามที่ ITU ให้ความหมายไว้ อ้อยังมีอีกเรื่องก็คือ ITU ได้กำหนดมาตรฐานการเชื่อมต่อความถี่วิทยุ ไว้ 5 มาตรฐานด้วยกันครับ ที่จำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานนั้นก็เพราะว่า ปัจจุบันผู้พัฒนาเทคโนโลยีหลายๆ ค่ายต่างพัฒนาได้รวดเร็วและหลากหลายวิธีการ ดังนั้นหากไม่มีการกำหนดมาตรฐานผลเสียอาจจะไปตกที่ผู้บริโภคเนื่องจากไม่สามารถใช้สินค้า (โทรศัพท์) เชื่อมต่อกันได้ และปัญหาที่สำคัญคือการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย และอุปกรณ์เครือข่าย เข้าเรื่องดีกว่ามาตรฐานการเชื่อมต่อคลื่นความถี่ของ IMT-2000
 มาตรฐานการเชื่อมต่อทางคลื่นวิทยุตามมาตรฐาน IMT-2000 ซึ่งระบุไว้ใน Recommendation ITU-R M.1457 ประกอบไปด้วยห้ามาตรฐานดังนี้ครับ (www.itu.int)
      
       1. WCDMA
       2. CDMA2000
       3. TD-SCDMA
       4. EDGE
       5. DECT
    
       ในโลกโทรคมนาคมยุคต่อไป หรือโดยเฉพาะระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคต่อไป ความหมายหรือนิยามการทำงาน หรือเทคโนโลยี เขาจะเน้นไปที่ความเร็วในการรับส่งข้อมูลครับ เช่น สามจี เหรอ หมายถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่สามารถรับส่งข้อมูลที่มีความเร็วได้ตั้งแต่ 144 kbps ถึง 2 Mbps ประมาณนั้นครับ หรือ เทคโนโลยี GPRS มีอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 144 kbps และเทคโนโลยี EDGE มีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลเท่ากับ 384 kbps เป็นต้นครับ
      
       มีผู้รู้หลายๆ ท่านในวงการโทรคมนาคมถกเถียงกันว่า EDGE ถือเป็น สามจีแล้วนะ หรือบ้างก็ว่า GPRS ก็ต้องเป็นสามจีด้วยสิ เพราะมีความเร็วเท่ากับนิยาม ITM-200 ของ ITU กำหนดไว้ และสำนักงาน กทช. เองก็ได้ให้นิยาม IMT-2000 ไว้เช่นเดียวกับที่ผมนำมาอธิบายให้ฟังข้างต้นแล้ว(นิยาม) ในเอกสานประกอบการทำประชาพิจารณ์แบบเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) ที่ผ่านมา ผมเลยคิดเอาเองเป็นความเห็นส่วนตัวว่า บ้านเมืองเรานักกฎหมายเค้าดูตามตัวหนังสือเลยครับยืนยันชัดเจน ถ้าระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ไม่สามารถทำงานได้ตาม นิยามข้างต้นทุกข้อแล้ว ไม่ถือว่าเป็น สามจี ครับ ซึ่งบางระบบอาจจะทำได้บางข้อเท่านั้น
      
       แต่ในความจริงแล้ว ในอดีตเราไม่เคยมีใครนิยามไว้เป็นทางการหรอกครับ ว่าอะไรคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 1 อะไรคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่2 หรืออะไรคือโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2.5 ล้วนซึ่งอาจจะเกิดจากความเข้าใจตามบทความ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคแรก นั้นเขาก็เปรียบให้เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ อนาลอก (Analog) ครับ อย่างเช่น (NMT) Nordic Mobile Telephone ในบ้านเราในอดีตก็มีย่าน 470 ย่าน 800 ย่าน 900 ประมาณนั้นครับ ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาระบบขึ้นที่เรียกกันว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สอง ซึ่งก็เปลี่ยนจากสัญญาณ อนาลอก มาเป็นสัญญาณ ดิจิตอล ครับ หรือระบบโทรศัพท์ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง อาทิเช่น ระบบ GSM (Global System for Mobile Communications) เป็นต้นครับ ถ้าจำไม่ผิดระบบดิจิตอล เซลลูล่าร์ ที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบันน่าจะมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลประมาณ 64 kbps พูดให้เข้าใจง่ายว่าเหมือนเราต่อ อินเตอร์เน็ต ผ่านสายโทรศัพท์บ้านธรรมดาเท่านั้นเอง และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Operators) ได้ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเสริมปริทธิภาพการทำงานของระบบให้รวดเร็วขึ้น จึงพัฒนาให้ระบบมีความเร็วขึ้นเป็นเทคโนโลยี GPRS และเทคโนโลยี EDGE ตามลำดับ
      
       อย่างที่ผมกล่าวถึงข้างต้นว่า ในการพัฒนาเทคโนโลยีของผู้ผลิตหลายๆ ค่าย ต่างคนต่างพัฒนา การใช้งานอาจจะส่งผลกระทบถึงผู้บริโภค เช่น เรียกข้ามเครือข่ายไม่ได้ ดังนั้นจึงพยายามบีบให้เหลือมาตรฐานทางเทคโนโลยีน้อยที่สุด ซึ่งก็ยังมีถึง 5 มาตรฐานตาม IMT-2000 ดังที่กล่าวมาแล้ว ทีนี้เรามาดูกันว่าจากระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน จะสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพเครือข่ายไปยัง สามจี อย่างไร ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า Evolution Paths

ปัญหาและวิธีแก้IE

             เพื่อนๆที่เล่นอินเตอร์เน็ตโดยใช้โปรแกรม Internet Explorer แล้วเจอปัญหาเออร์เรอร์ internet explorer script error ดังข้อความ  Problems with this Web page might prevent it from being displayed properly or functioning properly.
Webpage Error
Do you want to debug this ebpage?
This webpage contains errors that might prevent it from displaying or working correctly. If you are not testing this webpage, click No.

หรือ
Error
A Runtime Error has occurred.
Do you wish to Debug?


หรือ
Microsoft Visual C++ Runtime Library
Runtime Error!
Program: E:\Program Files\Internet Explorer\iexplore.exe
This application has requested the Runtime to terminate it in an unusual way.
Please contact the application’s support team for more information.

ดังรูป

วิธีแก้ข้อผิดพลาด internet explorer script error สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
วิธีที่ 1. Automatic Fix วิธีนี้เป็นการซ่อมแซม fix แก้ปัญหา internet explorer script error แบบอัตโนมัติ วิธีคือ ให้ดาวน์โหลดโปรแกรมFix IE script error ตามลิงค์ นี้ จากนั้นให้ทำการรันโปรแกรมโปรแกรมFix IE script error เพื่อแก้ปัญหาแบบอัติโนมัติตามขั้นตอนในหน้าจอโปรแกรมแจ้งนะครับ
วิธีที่ 2. Manual Fix วิธีนี้เป็นการซ่อมแซม fix แก้ปัญหา internet explorer script error แบบManual นะครับ ซึ่งวิธีนี้สามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
2.1 ให้เปิดโปรแกรมInternet Explorer(IE) ขึ้นมา จากนั้นไปที่เมนู Tools > Internet Options
2.2 ที่หน้าต่าง Internet Options ให้คลิกที่แท๊บ Advanced
2.3 จากนั้นให้เลื่อน scroll bar แล้วติ๊กเครื่องหมายถูกที่หน้าข้อความ Disable script debugging (Internet Explorer) และ Disable script debugging (Other) จากนั้นให้ติ๊กเครื่องหมายถูกออกหน้าข้อความ Display a notification about every script error ตัวอย่างดังรูป


2.4 จากนั้นให้คลิกปุ่ม Apply > OK จากนั้นให้ปิดและเปิดโปรแกรมInternet Explorer ใหม่อีกทีครับ
ยังไงเพื่อนๆที่เจอปัญหาข้างต้น ลองนำวิธีแก้ข้อผิดพลาด internet explorer script error
                              ปัญหาและวิธีแก้IE ฟ้อง Internet Explorer cannot display the webpage – ilovebrowserเวลาที่เราเล่นเน็ตด้วย Internet Explorer อยู่ดีๆ แล้วมันฟ้องขึ้นมาว่าInternet Explorer cannot display the webpageตัวอย่าง ดังรูป
แล้วจากนั้นก็เข้าดูเว็บเพจใดๆไม่ได้เลย หากเกิดอาการเช่นนี้ ให้ลองใช้วิธีตรวจสอบ และแก้ไขดังต่อไปนี้
วิธีที่ 1. ให้ลองเปิดเว็บไซต์หน้าอื่นๆดู เช่น
http://www.yahoo.com
http://www.google.com
http://www.bing.com
เพราะหน้าเว็บเพจที่เรากำลังเข้าดูนั้น อาจจะเกิดล่มกระทันหัน หรือปิดบริการไป ณ ช่วงเวลาที่เราใช้ก็เป็นได้ แต่ถ้ายังไม่ได้อีก ให้ลองวิธีที่ 2
วิธีที่ 2. ให้รัน Diagnose Connection Problems โดยคลิกที่ลิงค์ในหน้าเว็บเพจที่ IE แจ้ง Error จากนั้นลองเปิดIE เข้าเว็บอีกครั้ง ถ้ายังไม่ได้ลองวิธีที่ 3
วิธีที่ 3. ลองรีเซ็ตโมเดม(Modem) หรือเร้าเตอร์(Router) โดยการหยุดการเชื่อมต่อเน็ต ปิดโมเดม(Modem) หรือเร้าเตอร์(Router) แล้วก็รีสตาร์ทเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วก็ทำการเชื่อมต่อเน็ตดูใหม่อีกที จากนั้นลองเปิดIE เข้าเว็บอีกครั้ง ถ้ายังไม่ได้ ลองวิธีที่ 4
วิธีที่ 4. เคลียร์History Cookies และ Temporary Internet Files จากนั้นลองเปิดIE เข้าเว็บอีกครั้ง ถ้ายังไม่ได้ ลองวิธีที่ 5
วิธีที่ 5. ให้ลองใช้ Internet Explorer(โหมด No Add-ons) ดูนะครับ โดยให้ไปที่ Start > All Programs หรือ Programs > Accessories > System Tools แล้วคลิกเมนู Internet Explorer (No Add-ons) ครับ จากนั้นให้ลองเข้าเว็บอีกครั้ง แต่ถ้าใช้ทั้ง 5 วิธีแล้วยังไม่ได้ ลองมาใช้วิธีสุดท้ายนี้นะครับ วิธีที่ 6
วิธีที่ 6. ให้ใช้โปรแกรมAutomated Troubleshooting Services ซึ่งเป็นตัวเซอร์วิสที่ช่วย Fix Error Internet Explorer cannot display the webpage โดยไปตามลิงค์ นี้ แล้วคลิกปุ่ม Run now เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมAutomated Troubleshooting Services และเมื่อดาวน์โหลดเสร็จก็เอาไปติดตั้งFix IE ในเครื่องที่มีปัญหานี้ได้เลย

6 ก.ย. 2554

อินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษา


อินเทอร์เน็ต เพื่อการศึกษา
                           เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการพัฒนาองค์กร และสังคมในทุกๆ ส่วน อย่างที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้ นับวันเทคโนโลยีดังกล่าว ก็ยิ่งขยับเข้ามา ใกล้ตัวเรามากขึ้นทุกขณะ การ พัฒนาทางการศึกษาในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ทั้งในรูปแบบและขอบเขตของการศึกษาภายใต้การปฏิรูปทางการศึกษาตามเจตนารมณ์ ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ.2542 และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากใน การพัฒนาการศึกษาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 'อินเทอร์เน็ต' ที่ช่วยขยายแหล่งความรู้นั้นให้กระจายไปยังเยาวชนนักเรียนนักศึกษา โดยสามารถเข้าไปค้นคว้าด้วยตัวเองอย่างไร้ขีดจำกัด และขยายโอกาสการเรียนรู้ให้กระจายไปยังกลุ่มนักเรียนที่อยู่ในภูมิภาคห่าง ไกลด้วย
มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ระบุว่า การศึกษาหมายถึง
กระบวน การเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึกอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
อิน เทอร์เน็ตจึงเป็นขุมความรู้ปริมาณมหาศาล และเป็นเครื่องมือสื่อสารสืบค้นที่สะดวกรวดเร็วและไร้พรมแดน สามารถเอื้อให้เกิดการเรียนรู้จากทุกที่ไม่จำกัดแค่เพียงในห้องเรียน หรือในเวลาเรียนเท่านั้น จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดการศึกษาทั้งในและนอกระบบ และตามอัธยาศัย
ที่สำคัญยังเปิดกว้างสำหรับทุกคนที่ต้องการศึกษาหาความรู้ ไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดก็ตาม ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้เกิดการศึกษาพัฒนาความรู้ตลอดชีวิตสอดคล้องกับพระราชบัญญัติ
อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา นับได้ว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาระหว่างกลุ่มคนในสังคม และเป็นการเพิ่มพูนการเรียนรู้ของบรรดานักเรียนที่เตรียมพร้อมที่จะก้าวไปสู่การเป็นบุคลากรที่เปี่ยมด้วยความรู้ความสามารถ เพื่อเป็นการผลักดันประเทศไทยให้เข้าสู่สังคมแห่งปัญญาและความรู้ (Knowledge based Society) ในอนาคตข้างหน้า
สำหรับ ประเทศไทย การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชาชน ยังปรากฏความไม่เสมอภาคค่อนข้างชัด อาจจะสืบเนื่องมาจากข้อจำกัดทางทุนทรัพย์ ปัญหาทางด้านการสื่อสาร หรือโทรคมนาคมพื้นฐาน การขาดความรู้ความเข้าใจ หรือไม่เล็งเห็นประโยชน์ซึ่งหากปัญหาความไม่เสมอภาคในเรื่องนี้ ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที ช่องว่างของโอกาสการเรียนรู้ของคนไทย และนักเรียนจะกว้างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางด้านศึกษาเพิ่มมากยิ่งขึ้น
                           โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (School Net) ซึ่งริเริ่มและดำเนินการโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ด้วยความร่วมมือจากกระทรวงศึกษาธิการ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการที่ลดความไม่เสมอภาคดังกล่าว โดยการให้บริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแก่โรงเรียนหลายแห่งทั่วประเทศ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลแก่อาจารย์และนักเรียน เพื่อให้เทคโนโลยีถูกใช้เพื่อการพัฒนาการศึกษา ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาด้านอื่นๆ ต่อไป
เกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ประธานคณะกรรมการประสานงานการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา กล่าวถึงนโยบายการจัดการจัดงาน มหกรรมอินเตอร์เน็ตเพื่อการศึกษาในโรงเรียน (School Net Day) ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้ครูอาจารย์ จากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษา ได้เห็นถึงประโยชน์ของการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในการศึกษา และปรับปรุงคุณภาพการศึกษา รวมทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น และประสบการณ์ทางด้านวิชาการซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ใหม่แห่งเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาและพัฒนา บุคลากรทางการศึกษาของไทย

นอก จากนี้ ยังเป็นการสร้างความทั่วถึงและเท่าเทียมทางด้านการศึกษาให้เกิดขึ้นในสังคม ไทย และเป็นการยกระดับการศึกษาของเด็กไทยให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ อีกทั้งยังเป็นโครงการที่สนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาไทยตามแนวพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่มุ่งเน้นให้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ (Child Center) โดยมีครูอาจารย์คอยให้คำแนะนำ และสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) เป็นการพัฒนาบุคลากรไทยให้เป็นบุคคลที่มีความสามารถและศักยภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจไทยให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
พิชชาภรณ์ อุโพธิ์ นักเรียนจากโรงเรียนสาธิตสถาบันราชภัฏสงขลา เจ้าของรางวัลชนะเลิศ ระดับประเทศ การประกวดเรียงความของนักเรียนในระดับประถมศึกษา ในหัวข้อ 'คอมพิวเตอร์กับสังคมในสายตาของฉัน' ได้กล่าวแสดงทัศนคติถึงอินเทอร์เน็ตกับนักเรียนไทยในอนาคต ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากในการรับรู้ข่าวสาร การติดต่อ การสื่อสาร การศึกษา สิ่งเหล่านี้คือประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต
แต่ ถ้าในเวลาที่เท่ากันเรากลับทำในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ เช่น การหาความบันเทิงจากอินเทอร์เน็ตมากเกินไป หรือดูรูปลามกอนาจาร นั่นคือ โทษจากการใช้อินเทอร์เน็ตที่ผิดวัตถุประสงค์ ส่วนผลที่ได้รับ ถ้าในระยะเวลาที่เท่ากันเราใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลเพื่อการศึกษา หรือเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ที่มีประโยชน์ กับเรื่องที่ไร้สาระ ลองคิดดูว่า อย่างไหนจะคุ้มค่ามากกว่ากัน
เนรมิต น้อยสำลี นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา กล่าวว่า หากโครงการดังกล่าวนี้สามารถดำเนินการให้กับโรงเรียนทั่วประเทศได้อย่างทั่วถึง คงจะเป็นการยกระดับการศึกษาของนักเรียนไปอีกก้าวหนึ่ง ซึ่งปกติที่โรงเรียนก็มีอยู่แล้ว แต่เพราะจำนวนที่น้อยเกินไม่เพียงพอต่อนักเรียน เพื่อนบางคนยังไม่กล้าคลิกเมาส์เลยด้วยซ้ำไป เพราะกลัวว่าจะพัง แล้วจะไม่มีใช้
บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าคำว่า 'เวบไซต์' หมายถึงอะไร หากโครงการดังกล่าวสามารถขยายไปสู่โรงเรียนต่างๆ โดยเฉพาะในชนบทได้ ก็จะเป็นการเปิดหน้าใหม่ให้กับการศึกษาไทยได้เลยทีเดียว
ว่า ที่ร้อยตรี วัชรินทร์ วรรณตุง ผู้ช่วยฝ่ายวิชาการ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ ซึ่งมีส่วนผลักดันการศึกษาให้ควบคู่กับเทคโนโลยีทางสารสนเทศ โดยเฉพาะด้านอินเทอร์เน็ต จนสามารถคว้ารางวัล 'โรงเรียนดีเด่นด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางอินเตอร์เน็ต'
ทาง โรงเรียนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของ กลุ่ม SouthernNet ซึ่งมีกิจกรรมทางด้านวิชาการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต จึงทำให้นักเรียนในโรงเรียนมีโอกาสเรียนรู้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ก่อนที่จะสามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็นแหล่งข้อมูลค้นคว้าต่อไปในอนาคต
และ ทันทีที่มีโครงการ (School Net) ทางโรงเรียนก็ได้เข้าร่วมโครงการ เพื่อจะเป็นการเพิ่มข้อมูลและฐานการศึกษาทางด้านอินเทอร์เน็ตแก่นักเรียนใน โรงเรียนมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนในโรงเรียนมีส่วนร่วมและใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการ ศึกษา โดยจัดกิจกรรมทางด้านวิชาการและสร้างเครือข่ายห้องสมุด Digital Library โดยให้นักเรียน และคณาจารย์เป็นผู้ดูแล เพื่อจะเป็นแนวทางในการศึกษาทางด้านอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากยิ่งขึ้นในอนาคต ด้วย
หาก โครงการนี้สามารถดำเนินได้รวดเร็ว และครบร้อยเปอร์เซ็นต์ทุกโรงเรียนทั่วประเทศเมื่อไหร่ เมื่อนั้นเราก็อาจจะสามารถบอกลาการศึกษาของเด็กไทยแบบเก่าที่เรียนแบบท่องจำ หรือเรียนแบบนกแก้วนกขุนทองเสียที
อินเทอร์เน็ตนับได้ว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในยุคของสังคมข่าวสาร   อย่างเช่นปัจจุบันมันเป็นอภิมหาเครือข่ายระดับโลกที่มีกำลังการขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว  จน นักวิชาการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการคอมพิวเตอร์ได้คาดการเอาไว้ว่า อินเทอร์เน็ตจะเป็นเครือข่ายเดียวที่ใช้สำหรับเชื่อมโยงคนทั่วทุกมุมโลก  ให้ สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส ทำลายพรมแดนที่ขวางกั้นระหว่างประเทศ ไร้ซึ่งคำว่าระยะทางกับการเวลามาเกี่ยวข้อง จึงพอพิสูจน์ได้ว่า อินเทอร์เน็ต คือ  เทคโนโลยีที่ เหมาะสมกับยุคของโลกไร้พรมแดน ที่กำลังทวีความสำคัญยิ่งในหน่วยงานต่างๆและวงการการศึกษารวมไปถึงบุคคลภาย นอกที่สนใจอย่างแท้จริง
1.                                       การใช้อินเทอร์เน็ต  เพื่อการติดต่อสื่อสาร อภิปราย ถกเถียง แลกเปลี่ยนและสอบถามข้อมูลข่าวสาร  ความคิดเห็นทั้งกับผู้สนใจศึกษาในเรื่องเดียวกัน  หรือกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ
2.               การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการค้นหาข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
วิธีใช้บริการอินเทอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล วิธีที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือ ผ่านทาง  เวิลด์  ไวด์  เว็บ  เพราะการที่เว็บนั้นต้องรองรับข้อมูลแบบสื่อผสม  ( มัลติมีเดีย ) และเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกันให้เราได้ศึกษาอย่างสะดวกสบาย นอกจากนี้ยังรวบรวมอื่นๆ ทางอินเทอร์เน็ต
            3.  การประยุกต์อินเทอร์เน็ตทางการจัดกิจกรรมการสอนของหลักสูตรเดิม  เช่น  การรับส่งการบ้านทางอินเทอร์เน็ต  การค้นคว้าข้อมูลในอินเทอร์เน็ต เพื่อจัดทำรายงานและอื่นๆ 
4.   การศึกษาทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต  เป็นการเรียนการสอนรูปแบบใหม่  ซึ่งผู้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้องอยู่ในสถานที่เดียวกัน    การเรียนการสอนทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต  ช่วยขจัดปัญหาการขาดแคลนผู้สอนและข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ของผู้เรียนและผู้สอน  



ความเป็นมาและความหมายสำคัญของปัญหา
                              เทคโนโลยี อินเทอร์เน็ตปัจจุบันเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาสถานศึกษาทุกระดับไม่ว่าการ ปรับปรุงประสิทธิภาพของการจัดระบบการเรียนการสอนภายในโรงเรียนให้ดียิ่งขึ้น เห็นได้ว่าในปัจจุบันทุกโรงเรียนได้มีการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบ อินเทอร์เน็ต ซึงอินเทอร์เน็ตคือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกันโดยใช้มาตรฐานการเชื่อมต่อ TCP/IPมีวัตถุประสงค์หลักในการเพิ่มประสิทธิภาพในการสืบค้นข้อมูล การติดต่อสื่อสาร เช่น การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Mail การส่งผ่านเอกสารซึ่งอยู่ในรูปแบบแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรร่วมกัน อันได้แก่ ทรัพยากรสารสนเทศ ( information) ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ (hardware) เป็นต้น
อิน เทอร์เน็ต มีประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากช่วยในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารได้ระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่อยู่ในเครือข่ายไม่ว่าจะอยู่ ณ มุมใดของโลกได้ตลอดเวลา และข้อมูลข่าวสารที่ได้รับนั้นก็มีคุณภาพ เพราะทันสมัยทันต่อเหตูการณ์
                        ความ สำคัญในการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อการพัฒนาสถานศึกษาว่าควรมีการศึกษา ถึงการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ทราบถึงการใช้งานอย่างมีประสิทธภาพว่าในปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีดัง กล่าวมีสิ่งเร้าในการกระตุ้นให้บุคลากรภายในสถานศึกษาโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ บริหารสถานศึกษา เกิดการพัฒนาโรงเรียนไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อ งานบริหารหรือด้านประกอบการเรียนการสอน ที่ได้ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาพัฒนาโรงเรียนประถม มีการศึกษาอย่างจริงจังว่าหลังจากที่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาท อย่างกว้างขวางในการศึกษา งานวิจัยชิ้นนี้ทำให้ทราบถึงวิวัฒนาการทั้งในเชิงบวกและเชิงลบโดยการวิจัยทำ การวิเคราะห์ถึงกระบวนการและลักษณะในการใช้งานเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของผู้ บริหารสถานศึกษา
บทที่ 2
ประเภทเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตกับการศึกษา
1.สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูล  ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลวิชาการ  ข้อมูลด้านการพัฒนาบุคคล  ด้านการพัฒนาการเรียนการสอน และอื่นที่น่าสนใจ
            2.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่
            3.ผู้ บริหารสถานศึกษา สามารถใช้อินเตอร์เน็ต ติดต่อกับสถานศึกษาหรือหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อนค้นหาข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆเป็นต้น
            จาก ข้อมูลดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญในรูปแบบที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศที่ทันสมัย การติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็ว และเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลแหล่งที่ใหญ่ที่สุดของโลก
ลักษณะความแตกต่างของพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 
          
            เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในยุคสมัยใหม่มีบทบาทกับวงการศึกษาเป็นอย่างมาก  โดยเฉพาะการนำอินเทอร์เน็ตเข้ามามีส่วนสำคัญในการบริหารจัดการระบบการติดต่อสื่อสารทางการศึกษา ในสถานศึกษาโดยตรง  เช่น  การ รับส่งข้อมูลข่าวสารทางการศึกษาที่มาจากส่วนกลางให้กระจายไปยังสถานศึกษา ต่างๆ ที่มีระบบอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสาร และมีผู้บริหารสถานศึกษาเป็นตัวแปรสำคัญในการกำหนดแนวทางและกลยุทธ์ที่แตก ต่างกันออกไปแต่ละสถานศึกษา  ว่า สถานศึกษาแต่ละแห่งมีความพร้อมมากน้อยเพียงใด ในการจัดระบบอินเทอร์เน็ต ในการบริหารจัดการและเปรียบเทียบความต้องการในการใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ของผู้บริหารสถานศึกษา
               ผู้ บริหารสถานศึกษาต่างๆล้วนมีการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลาย แต่ในส่วนของการใช้งานล้วนมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป รวมทั้งมีความพร้อมในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาสถานศึกษา  พัฒนาการบริหารงานบุคคล  การเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอน  รวมไปถึงการค้นคว้าหาข้อมูลในการเรียนการศึกษาเพิ่มเติมของนักเรียนนักศึกษาอีกด้วย


ประโยชน์ของ อินเทอร์เน็ต

ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต


ตามที่กล่าวมาแล้วว่า อินเตอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ครอบคลุม ไปทั่วโลก พร้อมกับมีข้อมูลมหาศาล ทุกประเภท ให้เราค้นคว้า และรับส่งข้อมูล ไปมาระหว่างกันได้ ในตอนนี้ จะขอยกตัวอย่างประโยชน์ ของการใช้งานอินเตอร์เน็ต ด้านต่าง ๆ ให้เห็นพอสังเขป

ในด้านการศึกษา เราต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตเพื่อค้นคว้าหาข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลทางวิชาการจากที่ต่าง ๆ ซึ่งในกรณีนี้ อินเตอร์เน็ต จะทำหน้าที่เหมือนห้องสมุด ขนาดยักษ์ ส่งข้อมูลที่เราต้องการ มาให้ถึงบนจอคอมพิวเตอร์ที่บ้านหรือที่ทำงานของเรา ไม่กี่วินาทีจากแหล่งข้อมูลทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม ศิลปกรรม สังคมศาสตร์ กฎหมายและอื่นๆ

อีกส่วนที่เกี่ยวข้องกันก็คือ ประโยชน์การรับส่งข่าวสาร ผู้ใช้ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต สามารถรับส่งจดหมายอิเล็กตรอนิกส์ หรือ E-mail กับผู้ใช้คนอื่นๆ ทั่วโลก ในเวลาอันรวดเร็ว ได้โดยค่าใช้จ่ายต่ำมาก นอกจากนี้ ยังอาจส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แฟ้มข้อมูล รูปภาพ ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ที่เป็นภาพและเสียง ได้อีกด้วย

สำหรับด้านธุรกิจและการค้า ช่วยในการซื้อขายสินค้าผ่านคอมพิวเตอร์ เราสามารถเลือกดูสินค้า พร้อมคุณสมบัติผ่านจอคอมพิวเตอร์ของเรา และสั่งซื้อ และจ่ายเงินด้วย บัตรเครดิตได้ทันที ซึ่งนับว่าเป็นความสะดวกสบาย และรวดเร็วมาก สินค้ามีจำหน่าย ทุกประเภท เหมือนห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ เลยทีเดียว

นอกจากนี้ ผู้ใช้ ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ หรือ สนับสนุน ลูกค้าของตน ผ่านอินเตอร์เน็ต เช่น การตอบคำถาม หรือข้อสงสัยต่าง ๆ ให้คำแนะนำ รวมถึงข่าวสารใหม่ๆแก่ลูกค้าได้

ประโยชน์อินเตอร์เน็ต ที่ผู้ใช้กันมากที่สุดอีกอย่างหนึ่ง คือ ความบันเทิง และการ พักผ่อนหย่อนใจ หรือสันทนาการ เช่น เลือกอ่านวารสารต่างๆ ผ่านอินเตอร์เน็ต ที่เรียกว่า magazine แบบ online รวมถึงหนังสือพิมพ์ และข่าวสารอื่น ๆ โดยมีภาพประกอบบนจอคอมพิวเตอร์ เหมือนกับหนังสือ ปกติที่เราดูอยู่กันทุกวัน

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้




ด้านการศึกษา
- สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
- นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น ด้านการศึกษา
- สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
- นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น




ด้านธุรกิจและการพาณิชย์
- ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
- สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น
ด้านธุรกิจและการพาณิชย์
- ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
- สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น




ด้านการบันเทิง
- การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine o­nline รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป
- สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
- สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้



สรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ต มีความสำคัญ ในรูปแบบ ดังนี้

1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้
2. เทลเน็ต (Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้
3. การโอนถ่ายข้อมูล (File Transfer Protocol ) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
4. การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้
5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
6. การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
7. การซื้อขายสินค้าและบริการ (E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต
8. การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง

โดยสรุปอินเทอร์เน็ต ได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กร

กฎหมายเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
กฎหมาย คือ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ กติกาของสังคมที่กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้บังคับ ควบคุม
ความประพฤติของบุคคลในสังคม ให้ปฏิบัติตาม หากมีการฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดและได้รับโทษตามที่กำหนด
ไว้
อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไซเบอร์สเปซ ( Cyberspace ) คำเต็มของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตเวิร์กกิง
( Internetworking ) ต่อมานิยมเรียกสั้นๆ ว่า อินเทอร์เน็ต หรือ เน็ต
กฎหมายเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีความสำคัญต่อการติดต่อสื่อสารทั้งในส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจหรือรวมทั้งการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันทุกองค์การต้องมีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ดังนั้นต้องมีการควบคุมดูแลผลประโยชน์ของผู้ที่นำข้อมูลมานำเสนอผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของข้อมูล จากการประชุมคณะรัฐมนตรี ทางคณะรัฐมนตรีได้มีนโยบายทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ( National Information Technology Committee : NITC ) เป็นผู้รับผิดชอบกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology Law ) จำเป็นต้องมีการตรากฎหมายขึ้นบังคับทั้งหมด 6 ฉบับ ได้แก่
กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
กล่าวถึงความรับผิดชอบเกี่ยวกับผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยข้อมูลนั้นต้องเป็นข้อมูลที่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาอย่างเชื่อถือได้
กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่างๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้ง การลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
เป็นการคุ้มครองเพื่อมิให้เกิดการกระทำที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เสียหายจากการนำความรู้ทางคอมพิวเตอร์ไปใช้ในทางที่ผิด จำแนกเป็น ขโมยข้อมูลมาเปลี่ยนแปลง ทำลายข้อมูล ทำให้คอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเสียหาย การเจาะรหัสผ่านเข้าไปในระบบ การเผยแพร่ภาพลามกอานาจาร ขโมยโอนเงิน คัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้ในทางที่ผิด การข่มขู่ผ่านทางคอมพิวเตอร์ สร้างสิ่งรบกวนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงินและการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น
กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผลเปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรั
กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78
เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่นๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาสังคมและชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเอง พัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้
เมื่อมีการศึกษาเกี่ยวกับ “กฎหมายเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต” สิ่งที่จะต้องศึกษาควบคู่กันไปคือ “กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์” เนื่องจากคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้ใช้ในการ เข้าสู่ระบบการใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุด จึงควรศึกษากฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นพื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่ถูกต้อง
การพัฒนาพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 นั้นเริ่มต้นขึ้นมาตั้งแต่ปี 2541 โดยในระหว่างขั้นตอนการร่าวงกฎหมาย ได้มีการจัดสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด
การบังคับใช้กฎหมายให้สัมฤทธิ์ผล จำเป็นต้องกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนมีหน้าที่ในการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะเป็นพยานหลักฐานที่สำคัญที่สามารถสืบไปถึงตัวผู้กระทำความผิดได้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 18 ก.ค. 2550 เป็นต้นมาจนถึงทุกวันนี้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
1.ฐานความผิด
การกระทำความผิดสำหรับมาตร 5 ถึง 13 นั้น เป็นการกระทำที่กระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ ซึ่งเป็นการกระทำความผิดต่อ
การรักษาความลับ (Confidentiality)
ความครบถ้วนและถูกต้อง (Integrity)
ความพร้อมใช้งาน (Availability)
ซึ่งความผิดในหมวด 1 เป็นความผิดที่ไม่สามารถยอมความได้ เนื่องจากผลของการกระทำความผิด หรือก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นนั้น อาจไม่เพียงกระทบต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น แต่อาจจะกระทบต่อสังคม หรือก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจในวงกว้าง รวมทั้งหาตัวผู้กระทำผิดได้ยก ยกเว้นมาตร 16 ซึ่งเป็นความผิดที่กระทบเพียงบุคคลเดียว คู่คดีสามารถไกล่เกลี่ยกันได้
ฐานความผิดตามาตราต่างๆในหมวด 1 มีดังนี้
มาตรา 5 การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การใช้โปรแกรมสปายแวร์ (Spyware) ขโมยข้อมูลรหัสผ่านส่วนบุคคลของผู้อื่น เพื่อใช้บุกรุกเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้นั้นผ่านช่องโหว่ของระบบดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาต
มาตรา 6 การล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง และนำไปเปิดเผยโดยมิชอบ
การล่วงรู้มาตรการความปลอดภัยการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรม Keystroke แอบบันทึกการกดรหัสผ่านของผู้อื่น แล้วนำไปโพสไว้ในเว็บบอร์ดต่างๆเพื่อให้บุคคลที่สามใช้เป็นรหัสผ่านเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้เป็นเหยื่อ
มาตรา 7 การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น การกระทำใดๆตามที่กล่าวไว้ข้างต้นเพื่อเข้าถึงแฟ้มข้อมูล(File) ที่เป็นความลับโดยไม่ได้รับอนุญาต
มาตรา 8 การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ คือ การดักรับข้อมูลของผู้อื่นในระหว่างการส่ง เช่น การใช้สนิฟเฟอร์(Sniffer) แอบดักแพ็กเก็ต(Packet) ซึ่งเป็นชุดข้อมูลที่เล็กที่สุดที่อยู่
ระหว่างการส่งไปให้ผู้รับ
มาตรา 9 และ 10 การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ
การรบกวนข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การใช้โปรแกรมไวรัสเพื่อส่งอีเมล์(E-mail) จำนวนมหาศาลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้อื่น เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
มาตรา 11 การสแปมเมล์
เป็นมาตราที่เพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อให้ครอบคลุมถึงการส่งสแปม ซึ่งเป็นลักษณะการกระทำความผิดที่ใกล้เคียงกับมาตรา 10 และยังเป็นวิธีกระทำความผิดโดยการใช้โปรแกรมหรือชุดคำสั่งส่งไปให้เหยื่อจำนวนมาก โดยปกปิดแหล่งที่มา เช่น IP Address ส่งผลกระทบ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ
มาตรา 12 การกระทำความผิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ
การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนหรือกระ-กระต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ และการบริการสาธารณะ ส่วนใหญ่จะเป็นการเจาะเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์และแอบเพิ่มเติม หรือทำลายข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณูปโภคหรือระบบการเงินของประเทศ ซึ่งเป็นที่มาของการทำสงครามข้อมูลข่าวสาร(Information Warfare)
มาตรา 13 การจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อใช้กระทำความผิด
การเผยแพร่ชุดคำสั่งชั่วร้ายที่ใช้ในการกระทำความผิดตามมาตราต่างๆก่อนหน้านี้
มาตรา 14 และ 15 การปลอมแปลงคอมพิวเตอร์หรือเผยแพร่เนื้อหาที่ไม่เหมาะสม และการรับผิดของผู้ให้บริการ
สองมาตรานี้เป็นลักษณะที่เกิดจากการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นเท็จ หรือมีเนื้อหาไม่เหมาะสมในรูปแบบต่างๆ โดยในมาตรา 14 ได้กำหนดให้ครอบคลุมถึงการปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือสร้างข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นเท็จ หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น รวมทั้งข้อมูลลามกอนาจาร และการฟอร์เวิร์ด(Foward)หรือส่งต่อข้อมูลดังกล่าวอีกด้วย
ในมาตรา 15 ได้มีการกำหนดโทษของผู้ให้บริการที่สนับสนุน หรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา 14 ต้องรับโทษด้วยหากไม่ได้ระงับการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว
มาตรา 16 การเผยแพร่ภาพจากการตัดต่อหรือดัดแปลงให้ผู้อื่นถูกดูหมิ่นหรืออับอาย
เป็นการกำหนดฐานความผิดในเรื่องของการตัดต่อภาพของบุคคลอื่นที่อาจจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย โดยความผิดในมาตรานี้เป็นความผิดที่มีความใกล้เคียงกับความผิดฐานหมิ่นประมาทในประมวลกฎหมายอาญา แต่มีการแพร่กระจายความเสียหายลักษณะดังกล่าวทางคอมพิว- เตอร์หรืออินเทอร์เน็ตนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วและขยายวงกว้างมากกว่า
มาตรา 17 การกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรซึ่งต้องรับโทษในราชอาณาจักร
เป็นการนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ เนื่องจากมีความกังวลว่า หากมีความกระทำความผิดนอกประเทศแต่ความเสียหายเกิดขึ้นภายในประเทศแล้วจะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้อย่างไร จึงต้องกำหนดไว้ให้ชัดเจนในพระราชบัญญัติฯฉบับนี้ด้วย
1.อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่
การกำหนดเกี่ยวกับอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ได้กำหนดไว้ตั้งแต่มาตรา 18 ถึง 30 ดังนี้
มาตรา 18 อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรานี้ได้ให้อำนาจหน้าที่แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ไว้อย่างเต็มที่ เพื่อให้การสืบสวน สอบสวนทำได้อย่างเต็มที่ เช่น อำนาจในการค้นหรือเข้ายึด หรือตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์ที่ต้องสงสัยว่ามีการนำมาใช้กระทำความผิด การถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือการเรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
มาตรา 19 การตรวจสอบการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่
เป็นการกำหนดให้มีการตรวจสอบการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ของศาลให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น
การกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระบุเหตุอันควรเชื่อว่า ทำไมจึงต้องใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติฯ
ลักษณะการกระทำความผิด รายละเอียดของอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดเท่าที่จะทำได้
การยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์ ต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจและจะทำได้ไม่เกิด 30 วัน โดยอาจขอขยายระยะเวลาดังกล่าวต่อศาลได้อีกไม่เกิน 60 วัน
เมื่อหมดความจำเป็นหรือหมดเวลาก็ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดมาทันที
มาตรา 20 การให้อำนาจในการบล็อกเว็บไซต์
การกระทำที่เข้าข่ายว่าเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติฯที่อาจกระทบต่อความมั่นคง หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมจะกระทบต่อความรู้สึกของคนในสังคมเป็นอย่างมาก ซึ่งการจัดการกับปัญหาดังกล่าวจะต้องกระทำด้วยความรวดเร็ว
แต่การบล็อกเว็บไซต์นั้นอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจของผู้ให้บริการ จึงอาจทำให้เกิดเหตุการณ์ฟ้องร้องพนักงานเจ้าหน้าที่กลับได้ ดังนั้นพระราชบัญญัติจึงกำหนดให้รัฐมนตรีรักษาการมีบทบาทในการกลั่นกรองดุลยพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนที่จะดำเนินการยื่นขอบล็อกเว็บไซต์จากศาล
มาตรา 21 การห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์
ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ (Malicious Code) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมชั่วร้ายทั้งหลายที่สร้างขึ้นมาเพื่อกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติฯในรูปแบบต่างๆ เช่น ไวรัส เวิร์ม สปายแวร์ โทรจันฮอร์ส เป็นต้น
ปัจจุบันมีผู้ใช้โปรแกรมชั่วร้ายดังกล่าวเพื่อก่อกวนและทำลายระบบคอมพิวเตอร์บ่อยครั้ง มาตรานี้ จึงให้อำนาจแกพนักงานเจ้าหน้าที่ในการห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่โปรแกรมเหล่านั้น รวมถึงการระงับการใช้ ให้ทำลาย หรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวได้ด้วย นอกจากนั้นยังสามารถกำหนดเงื่อนไขในการใช้การครอบครอง และการเผยแพร่โปรแกรมได้อีกด้วย
มาตรา 22 ถึง 24 การรักษาความลับของพยานหลักฐาน
แม้จะมีกลไกลการตรวจสอบการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ระบุไว้ในมาตรา 18 และ 19 แล้วก็ตาม แต่เพื่อเป็นการรักษาความลับของพยานหลักฐานที่ได้มาจากการสืบสวนสอบสวนที่จำเป็นต่อการดำเนินคดี ไม่ให้ไปเปิดเผยหรือส่งมอบให้บุคคลอื่น เพื่อป้องกันการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในทางที่ผิด ดังนั้นมาตรา 22 จึงได้กำหนดห้ามไม่ให้เปิดเผยพยานหลักฐาน แต่ก็มีขอยกเว้นว่า หากมี การยื่นขออนุญาตจากศาล ก็สามารถเปิดเผยได้
มาตรา 23 ได้กำหนดบทลงโทษพนักงานเจ้าหน้าที่ไว้ด้วยในกรณีที่ประมาทจนเป็นเหตุที่ทำให้พยานหลักฐานรั่วไหลให้ผู้อื่นรู้ข้อมูล
มาตรา 24 เป็นการกำหนดบทลงโทษของผู้ที่รู้ข้อมูลจากพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา 25 ห้ามมิให้ฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบ
มาตรานี้จะเป็นการกำหนดให้ข้อมูลที่ได้จากคอมพิวเตอร์หรือไฟล์ต่างๆสามารถนำมาให้เป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการปฏิเสธในการนำเอาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จากคอมพิวเตอร์มาเป็นพยานหลักฐาน
นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้พยานหลักฐานที่ได้มาโดยทุจริต ไม่สามารถนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานได้อีกด้วย
มาตรา 26 ถึง 27 หน้าที่ของผู้ให้บริการในการเก็บข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ และความรับผิด หากไม่ปฏิบัติตามหน้าที่
ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ ถือว่าเป็นพยานหลักฐานชิ้นสำคัญในการพิจารณาคดี ดังนั้นมาตรานี้ จึงได้กำหนดให้ผู้บริการปะเภทใดปะเภทใดบ้างที่มีหน้า ที่ต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บอย่างไร และให้จัดเก็บไว้ ตั้งแต่เมื่อใด
พระราชบัญญัติฯกำหนดให้รัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีเป็นผู้จัดทำประกาศ โดยกำหนดให้ทำการจัดเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ไว้เป็นเวลา 90 วัน เพื่อให้เพียงพอต่อการนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการสืบสวนสอบสวนต่อไป และอาจร้องขอต่อศาลให้ขยายระยะเวลาในการจัดเก็บได้ไม่เกิน 1 ปี
มาตรา 28 การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
เพื่อให้การสืบสวนสอบสวนคดีที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์สามารถทำได้อย่างถูกต้อง พนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะได้รับการแต่ตั้งอาจประกอบด้วย
วิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์
นักกฎหมายที่มีความรู้ความเข้าใจในการบังคับใช้กฎหมาย
พนักงานสอบสวนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เจ้าหน้าที่จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ
บุคคลที่มีพื้นฐานความรู้ทางระบบคอมพิวเตอร์
มาตรานี้กำหนดให้รัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีสามารถออกประกาศเกี่ยวกับกำหนดคุณสมบัติพนักงานเจ้าหน้าที่เพิ่มเติม เพื่อให้ได้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติฯได้เป็นอย่างดี
q มาตรา 29 การรับคำร้องทุกข์กล่าวโทษ จับ ควบคุม และกำหนดระเบียบ แนวทางและการวิธีปฏิบัติ และมาตรา 30 การแสดงบัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่
มาตรา 29 เป็นการกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการจับกุม ควบคุม สอบสวน การทำสำนวน และการดำเนินคดี โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานร่วมกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการดำเนินคดี เพื่อให้การดำเนินคดีเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ส่วนมาตรา 30 เป็นการกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องมีการแสดงบัตรประจำตัวทุกครั้งที่ปฏิบัติหน้าที่



ที่มาhttp://atitaya.igetweb.com/index.php?mo=3&art=486667